วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ชอบ




ชื่อ - สกุล:พัชราภา ไชยเชื้อ
ชื่อเล่นอั้ม
วันเกิด:5 ธันวาคม 2521
สถานะ:โสด อายุ:32 ปี
ส่วนสูง: 168 ซม.
น้ำหนัก:46 กก.
ประเภทดารา:ดาราและนักแสดง
การศึกษา ประถมศึกษาโรงเรียนสตรีวรนารถ บางเขน
มัธยมโรงเรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา
ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรังสิต
งานอดิเรก ฟังเพลง ช็อปปิ้งเสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า
สิ่งที่ชื่นชอบ ชอบสีดำกับชมพู
กีฬาว่ายน้ำ
ถูกใจสยามแสควร์
ชอบคาราโอเกะเพลงช้าของมาช่า มาลีวัลย์
ชอบเพลงปาน-ธนพร เพลงเก่งคือเพลงอย่าปล่อยให้เขาเห็นน้ำตา
ชอบเพลงบูโดกัน เพลงรักจนตัดใจ
ชอบเพลงพี่แหวน เพลงดาวกระดาษ ของปนัดดา
ชอบท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เช่น ไปดำน้ำ เที่ยวทะเล ชมน้ำตก
ศิลปินที่ชอบ ชไมพร จตุรภุช
นักกีฬาต้อง ไทเกอร์ วู้ดส์
นักการเมืองปลื้ม คุณชวน หลีกภัย
นักร้อง มาช่า
นิสัยส่วนตัว ร่าเริง
เสป็ก ต้องเป็นคนดี ใจดี เอาใจเก่ง ต้องเข้าใจกัน พร้อมจะให้อภัยกันเมื่ออีกฝ่ายทำผิด
ที่อยู่ 72/519 หมู่ 16 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
รางวัล ปี 1997 รางวัลชนะเลิศ MISS HACK ประจำปี 1997
ปี 2545 รางวัล ดูเร็กซ์ โกบอล เซ็กส์ 2002 ในฐานะสาวเซ็กซี่แห่งปี 2545 จัดโดย ดูเร็กซ์
ปี 2546 รางวัล ดูเร็กซ์ โกบอล เซ็กส์ 2003 ในฐานะสาวเซ็กซี่แห่งปี 2546 จัดโดย ดูเร็กซ์
ปี 2547 รางวัล TOP AWARDS ในฐานะนักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2546 จากละครเรื่อง โซ่เสน่หา ทางช่อง 7 โดยเป่า จิน จง จัดโดย นิตยสาร ทีวีพูล
อาหารที่ชอบ ส้มตำ, ไก่ย่าง,ข้าวหมูทอด ข้าวมันไก่
สัตว์ที่ชอบ สุนัข มีเลี้ยงอยู่ 5 ตัว ตัวโปรดชื่อ กัปตัน

เพลง



เนื้อเพลง: Way Back into Love
ศิลปินรับเชิญ: Haley Bennett
I've been living with a shadow overhead
ฉันอาศัยอยู่กับเงา

I've been sleeping with a cloud above my bed
ฉันหลับไปพร้อมกับปัญหาที่ลอยอยู่บนเตียงของฉัน

I've been lonely for so long
ฉันอาศัยอย่างเดียวดายมานานเกินไปแล้ว

Trapped in the past, I just can't seem to move on
อยู่ติดกับอดีต ดูเหมือนว่า ฉันไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายมันไปได้

I've been hiding all my hopes and dreams away
ฉันซ่อนความหวังและความฝันทุกๆอย่างให้หมดไป

Just in case I ever need em again someday
ในกรณีนี้ บางวัน ฉันต้องการพวกมันอีกครั้ง

I've been setting aside time
ฉันตั้งเวลาสำรองไว้เรียบร้อยแล้ว

To clear a little space in the corners of my mind
เพื่อที่จะเคลียร์พื่นที่เล็กๆในเสี้ยวหัวใจของฉัน

All I want to do is find a way back into love
ทั้งหมดที่ฉันต้องการคือหาทางที่จะเข้าไปในหัวใจให้ย้อนกลับมา

I can't make it through without a way back into love
ฉันไม่สามารถทำมันได้ เมื่อปราศจากทางที่จะเข้าไปในหัวใจให้ย้อนกลับมา

Oh oh oh
โอ โอ โอ้

I've been watching but the stars refuse to shine
ฉันนั่งเฝ้ามองดูแต่พวกดวงดาวก็ไม่ส่องแสงซักที

I've been searching but I just don't see the signs
ฉันค้นหาแต่ฉันก็มองไม่เห็นร่องรอยอะไรเลย

I know that it's out there
ฉันรู้ มันหายไปจากที่นี่แล้ว

There's got to be something for my soul somewhere
มันจะมีอะไรซักอย่างเกิดขึ้นสำหรับจิตวิญญาณของฉัน

I've been looking for someone to shed some light
ฉันมองหาใครบางคนที่จะให้แสงสว่างกับฉัน

Not somebody just to get me through the night
ไม่ใช่ใครบางคนที่แค่พาฉันผ่านคืนหนึ่งๆไป

I could use some direction
คนที่ฉันสามารถใช้คำสั่งบางอย่างได้

And I'm open to your suggestions
และฉันจะเปิดรับข้อเสนอของคนนั้น

All I want to do is find a way back into love
ทั้งหมดที่ฉันต้องการคือหาทางที่จะเข้าไปในหัวใจให้ย้อนกลับมา

I can't make it through without a way back into love
ฉันไม่สามารถทำมันได้ เมื่อปราศจากทางที่จะเข้าไปในหัวใจให้ย้อนกลับมา

And if I open my heart again
และถ้าฉันเปิดใจอีกครั้ง

I guess I'm hoping you'll be there for me in the end
ฉันคิดว่า ฉันหว้งว่าคุณจะอยู่ที่นั่นสำหรับฉันในที่สุด

oh, oh, oh, oh, oh
โอ โอ โอ โอ โอ โอ้

There are moments when I don't know if it's real
นั่นคือชั่วขณะที่ฉันไม่รู้ว่ามันเป็นความจริงรึเปล่า

Or if anybody feels the way I feel
หรือทุกๆคนก็รู้สึกเหมือนฉัน

I need inspiration
ฉันต้องการแรงบันดาลใจ

Not just another negotiation
ไม่ใช่แค่การเจรจาต่อรอง

All I want to do is find a way back into love
ทั้งหมดที่ฉันต้องการคือหาทางที่จะเข้าไปในหัวใจให้ย้อนกลับมา

I can't make it through without a way back into love
ฉันไม่สามารถทำมันได้ เมื่อปราศจากทางที่จะเข้าไปในหัวใจให้ย้อนกลับมา

And if I open my heart to you
และถ้าฉันเปิดใจสำหรับคุณ

I'm hoping you'll show me what to do
ฉันหวังว่า คุณจะแสดงให้ฉันเห็นว่าควรทำยังไง

And if you help me to start again
และถ้าคุณช่วยฉันในเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

You know that I'll be there for you in the end
ในที่สุด คุณก็จะรู้ว่าฉันอยู่ที่นั่นสำหรับคุณ

oh, oh, oh, oh, oh
โอ โอ โอ โอ โอ้

การเมือง





การเตรียมการเปลี่ยนแปลง
คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะรุนแรงที่เสียเลือดเนื้อได้

ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม


หมุด ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีข้อความว่า "...ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ

หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า "มันสมอง" มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว
แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

[แก้] การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า

[แก้] พระปฏิสันถารระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี
ในเวลาประมาณ 08.00 น. ของเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ที่ทาง ร.ท.ประยูรร่วมกับ พ.ต.หลวงพิบูลสงครามทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายระดับสูงและบุคคลสำคัญต่าง ๆ มาไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ในส่วนของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ทรงมีพระปฏิสันถารกับ ร.ท.ประยูร ผู้ที่ทำการควบคุมพระองค์ไว้ ดังปรากฏในหนังสือเบื้องแรกประชาธิปไตย ที่เขียนโดย ร.ท.ประยูร เอง

ความตอนหนึ่งว่า

เวลา 08.00 น. วันที่ 24 มิ.ย. หลวงพิบูลสงครามและคณะ ได้นำจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์...มาในรถถัง ส่งให้ที่หน้าประตูพระที่นั่งอนันตสมาคม

ข้าพเจ้าถวายคำนับ เชิญเสด็จฯ ทรงจ้องข้าพเจ้าด้วยพระเนตรดุเดือด

ตรัสว่า "ตาประยูร แกเอากับเขาจริง ๆ พระยาอธิกรณ์ประกาศ บอกฉันไม่เชื่อ ฉันตั้งชื่อทำขวัญให้แกเมื่อเกิด ฉันเลี้ยงแกมาตั้งแต่เด็ก โกรธฉันที่ไม่ไปเผาศพพ่อแกใช่ไหม"

ข้าพเจ้าเร่งให้เสด็จลงจากรถถัง ทรงสำทับถาม "จะเอาฉันไปไหน อย่าเล่นสกปรกนะ" เมื่อเข้าไปประทับในที่ประทับด้านหน้า ข้าพเจ้าสำนึก วางปืนก้มกราบขอพระราชทานอภัย

ทรงรับสั่งถาม "ใครเป็นหัวหน้า พระองค์บวรเดชใช่ไหม?"

"ยังกราบทูลไม่ได้พ่ะย่ะค่ะ" ทรงกริ้ว รับสั่งหนักแน่นว่า "ตาประยูร แกเป็นกบถ โทษถึงต้องประหารชีวิต"

ทรงรับสั่งถามต่อไป "พวกแกที่ยึดอำนาจนี้ ต้องการอะไร มีความประสงค์อะไร ต้องการปาลีเมนต์ มีคอนสติติวชั่นใช่ไหม" ข้าพเจ้ากราบทูลว่า "ใช่"

ทรงนิ่งชั่วครู่ แล้วรับสั่งถามว่า "แล้วมันจะดีกว่าที่เป็นอยู่เวลานี้หรือ ตาประยูร"

"อารยประเทศทั่วโลกก็มีปาลีเมนต์กันทั่วไป ยกเว้นอาบิสซีเนีย" ข้าพเจ้ากราบทูล

ทรงถามว่าข้าพเจ้าอายุเท่าไร เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลว่า 32 ก็รับสั่งว่า "เด็กเมื่อวานซืนนี้เอง นี่แกรู้จักคนไทยดีแล้วหรือ แกจะต้องเจอปัญหาเรื่องคน พระราชวงศ์จักรีครองเมืองมา 150 ปีแล้ว รู้ดีว่าคนไทยนี่ปกครองกันได้อย่างไร อ้ายคณะของแกจะเข็นครกขึ้นเขาไหวรึ"

ทรงถามถึงการศึกษา เมื่อกราบทูลว่าเรียนรัฐศาสตร์จากปารีส ทรงสำทับ "อ้อ มีความรู้มาก แกรู้จักโรเบสเปีย มารา และกันตอง เพื่อนน้ำสบถฝรั่งเศสดีแน่ ในที่สุดมันผลัดกันเอากิโยตีน เฉือนคอกันทีละคน จำได้ไหม ฉันสงสาร ฉันเลี้ยงแกมา นี่แกเป็นกบถ รอดจากอาญาแผ่นดิน ไม่ถูกตัดหัว แต่จะต้องถูกพวกเดียวกันฆ่าตาย แกจำไว้"

ข้าพเจ้ากราบทูลว่า "ตามประวัติศาสตร์ มันจะต้องเป็นเช่นนั้น"


[1]

[แก้] ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคม
อาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. 130" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130" [2]

หนังสือพิมพ์ รายงานเหตุการณ์
กองกำลังของคณะราษฎร ถ่าย ณ บริเวณหน้าวังปารุสกวัน
ประชาชนหลั่งไหลเข้ามาดูเหตุการณ์ ณ ลานพระราชวังดุสิต

การศึกษาต่อ




นิติศาสตร์
นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่ามีกฎหมายเป็นวัตถุของการศึกษา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ใช้คำภาษาอังกฤษแทนวิชานิติศาสตร์ว่า "science of law"
การศึกษานิติศาสตร์
วิชานิติศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา ซึ่งอาจสามารถแบ่งออกได้เป็น
• วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper) ได้แก่ การศึกษาตัวบทกฎหมายซึ่งเป็นเนื้อหากฎหมาย และนิติวิธีหรือวิธีการใช้กฎหมายเพื่อนำไปใช้ปรับใช้แก่คดีและประกอบวิชาชีพนักกฎหมาย
• นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์หรือในสังคม โดยไม่ประเมินคุณค่าว่าถูกหรือผิด เช่น วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย และวิชาสังคมวิทยากฎหมาย
• นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) เป็นการศึกษากฎหมายในเชิงวิจารณ์เปรียบเทียบและประเมินคุณค่า เช่น วิชากฎหมายเปรียบเทียบ และวิชานิติบัญญัติ
การศึกษากฎหมายในระดับที่มีความสัมพันธ์กับปรัชญา จะถูกเรียกว่าวิชา นิติปรัชญา หรือ philosophy of law
[แก้] หลักนิติศาสตร์
หลักนิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาลาตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudntium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the science of the just and the unjust".
อย่างไรก็ตาม jurisprudence ยังคงมีการใช้ในความหมายพิเศษอีก ได้แก่
• Jurisprudence ในภาษาฝรั่งเศส ย่อมาจากคำว่า jurisprudence constant หมายถึง ความรู้กฎหมายที่เกิดจากแนวคำพิพากษาของศาล เป็นคำตรงข้ามกับ doctrine ซึ่งหมายถึง กฎหมายที่สอนในตำรากฎหมาย
• Jurisprudence เป็นชื่อวิชาเฉพาะที่สอนในโรงเรียนกฎหมายในอังกฤษ ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดย John Austin เมื่อ ค.ศ. 1828-1832 ในมหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งมีคำสอนว่ากฎหมาย คือ คำสั่งของรัฐาธิปัตย์ และถูกนำเข้ามาในประเทศไทยโดยเสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
[แก้] การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมา จึงมีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่ทำไมโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่ทำไมโรงเรียนกฎหมายจึงไม่ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบ้าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย และในที่สุดจึงมีการออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม และเมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งใน คณะรัฐศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการก่อตั้ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งในภาครัฐและเอกชน

ความรัก




เรื่องราวความรักน่ารักๆ...ที่อาจจะทำให้คุณเผลอยิ้ม

อ่านแล้วห้ามอมยิ้มนะ

โปรดใช้หัวใจของคุณอ่านด้วยความความเข้าใจและยินดี!!

เรื่องราวของคู่รักคู่หนึ่งที่คบกันมานาน 10 ปี

เขาทั้งคู่มีวิธีรักษาความสัมพันธ์ของความรักได้เก๋ทีเดียว



ลองอ่านดู...เผื่อเรื่องราวนี้อาจจะสร้างแรงบันดาลใจในการประคับประคองความรัก

และทำให้คุณคิดจะหันกลับไปมองดูคู่รักที่คุณเคยเบื่อ เคยรำคาญ และเคยอยากจะเลิก



เรื่องราวมีอยู่ว่า.............................

ผู้หญิงคนนี้คบกับแฟนมา 5 ปี และแต่งงานกันอีก 5 ปี

วันหนึ่ง เธอขับรถกลับบ้านซึ่งปกติก้อจะโทรถามเขาทุกวันว่ากลับมาบ้านหรือยัง

เธอนึกสนุกๆ ว่าเขาจะกลับมาก่อนเธอมั้ยนะ

แล้วก้อคิดว่า "คงไม่มั้ง”



พอมาถึงบ้านก้อเก็บข้าวของลงจากรถตามปกติ

พอเดินเข้าไปในบ้านปุ๊บเธอก้อเจอลูกโป่งลอยเต็มไปหมด

หนึ่งในนั้นมีซองจดหมายผูกติดอยู่สองซอง

ซองแรกเขียนไว้ว่า "เปิดผมก่อน"

แล้วก้อมีข้อความเขียนว่า

"ให้เดินไปกดสเตอริโอ แล้วเปิด CD ถาดที่ 1

หลังจากนั้นให้นั่งลงอ่านจดหมายอีกฉบับ "

เธอทำตามอย่างนึกขำ แล้วเพลง " I love you for sentimental reason” ก้อดังขึ้น

เพลงนี้เป็นเพลงโปรดของคนทั้งคู่ตลอดกาลเธอเคยขอให้เขาร้องให้ฟังบ่อยๆ



พอเธอเปิดจดหมายอีกฉบับก้อมีโน้ตจากเขาเขียนว่า........

"ผมหลงรักคุณมาสิบปีเต็มวันนี้ก้อยังรักคุณเหมือนวันแรกที่รักและอยากบอกรักคุณอีกครั้ง "



โปรดทำตามคำแนะนำต่อไปนี้.......

1.อาบน้ำให้สบายที่สุดด้วยครีมอาบน้ำกลิ่นนี้จากผม

หลับตาแล้วนึกถึงความรู้สึกในวันเก่าๆ ของเรา ว่าคุณตื่นเต้นแค่ไหนเวลาออกเดทกับผม

2. แต่งตัวสบายๆ ใส่เสื้อยืดลายการ์ตูนที่คุณชอบกับกางเกงยีนส์

แล้วก้อรองเท้าผ้าใบ เพราะคุณดูเป็นตัวเองที่สุดแล้วผมก้อหลงรักคุณในชุดนั้น

3. ออกจากบ้านตอนหนึ่งทุ่มตรง ขับรถไปเรื่อยๆ

ผ่านเซเว่นหน้าปากซอย เลี้ยวซ้ายหยุดตรงป้ายรถเมล์ป้ายแรก

คุณจะเจอชายหนุ่มหน้าตาดี ยืนยิ้มรอคุณอยู่

อย่ามาสายล่ะ

คืนนี้จะเป็นอีกคืนของเราสองคนออกเดทกันอีกครั้ง

จาก...ผม"



ความรักคงไม่ใช่สิ่งที่ดูเลวร้ายและเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสของชีวิตอีกต่อไป

หากเราและคนรักจะก้าวออกมาจากทิฐิที่มีต่อกัน

ลองหันกลับไปมองดูกำแพงที่ก่อเอาไว้แล้วหยิบค้อนขึ้นมาเสียตั้งแต่ตอนนี้เลย

ทุบกำแพงที่กั้นกลางความเข้าใจนั้นซะ

แล้วคุณกับคนรักจะเจออะไรบางอย่าง

การ์ตูน




มิกกี้ เมาส์
มิกกี้ เมาส์ (อังกฤษ: Mickey Mouse)เจ้าหนูที่ครองใจเด็กๆทั่วโลก มีลักาณะเป็นหนูสีดำ สวมกางเกงเอี๊ยมสีแดง ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 โดยวอลต์ ดิสนีย์และอับ ไอเวิร์กส ให้เสียงโดยวอลต์ ดิสนีย์
จุดกำเนิดของมิกกี้ เมาส์ เกิดขึ้นขณะที่วอล์ต ดิสนีย์ นั่งอยู่บนรถไฟระหว่างทางมุ่งสู่ลอสแอนเจลิส เขาลงมือสเก็ตช์ภาพคาแรกเตอร์หนูเล็ก ๆ สวมกางเกงสีแดง ขึ้นมา โดยมีอับ ไอเวิร์กสออกแบบรูปร่างลักษณะ การ์ตูนเสียงเรื่องแรก "Steamboat Willie" เข้าฉายที่ New York's Colony Theatre โดยทางนิวยอร์กไทม์เขียนไว้ว่า "เป็นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์เยี่ยมยอดและสนุก"
บุคลิกของมิกกี้ เมาส์คือ มองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น ถ่อมตัวและเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ชอบร้องอุทาน "Gosh" หรือบางครั้งก็ "Oh boy!", "Aw-Gee" ,"Uh-Oh!" ชอบอ่าน Newsweek, time, Life, National Geographic, Good Housekeeping มีหวานใจชื่อว่ามินนี่เมาส์ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนที่ครองใจเด็กๆทั่วโลกเช่นกัน นอกจากนี้มิกกี้เมาส์ยังมีสุนัขสีน้ำตาลแสนรัก ชื่อว่า พลูโตที่เป็นสุนัขที่ซื่อสัตย์ ฉลาดและแสนรู้

เรื่องแปลก









เรื่องแปลก

ท่องเที่ยว






อำเภอปาย
อำเภอปาย เป็นอำเภอขนาดเล็กทางตอนเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวชมความงามตามธรรมชาติ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอปายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
• ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองปั่น จังหวัดตองยี รัฐฉาน (ประเทศพม่า)
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง (จังหวัดเชียงใหม่)
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะเมิงและอำเภอกัลยาณิวัฒนา (จังหวัดเชียงใหม่)
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนและอำเภอปางมะผ้า


การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอปายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 66 หมู่บ้าน ได้แก่
1. เวียงใต้ (Wiang Tai) 8 หมู่บ้าน
2. เวียงเหนือ (Wiang Nuea) 10 หมู่บ้าน
3. แม่นาเติง (Mae Na Toeng) 14 หมู่บ้าน
4. แม่ฮี้ (Mae Hi) 6 หมู่บ้าน
5. ทุ่งยาว (Thung Yao) 12 หมู่บ้าน
6. เมืองแปง (Mueang Paeng) 9 หมู่บ้าน
7. โป่งสา (Pong Sa) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอปายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
• เทศบาลตำบลปาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงใต้
• องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงใต้ (นอกเขตเทศบาลตำบลปาย)
• องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงเหนือทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นาเติงทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฮี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ฮี้ทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งยาวทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแปง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแปงทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งสาทั้งตำบล
ภูมิศาสตร์
เป็นที่ราบแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำหลายสาย คือ น้ำปาย น้ำของ และน้ำแม่ปิงน้อย อีกทั้งมีลำห้วยอีกหลายสาย คือ ห้วยแม่เมือง ห้วยแม่เย็น และห้วยแม่ฮี้
ประวัติศาสตร์
อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาแต่เดิมคือชาวพ่ายหรือไปร ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สาขาว้า-เรียง ดังมีร่องรอยหลักฐานซากวิหารและเจดีย์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนภูเขาสูง ที่ดอนเชิงเขา บริเวณพื้นราบลุ่มน้ำปาย บางแห่งก่อสร้างด้วยหิน เช่น ในผืนป่าบริเวณใกล้น้ำตกเอิกเกอเต่อ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่ปิงน้อย บางแห่งมีการขุดคูเป็นร่องลึกบนภูเขาสูงชัน มีเจดีย์บนยอดเขา
มีหลักฐานว่าเจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปาย ในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศ พระราชาธิบดีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่งเจ้าแก้วเมืองออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะเป็นที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ว่า "เวียงใต้" ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า "เวียงเหนือ"
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เมืองปายเป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไปพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2318-2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้านและพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่ คนไทยวน (คนเมือง) ชาวไทใหญ่ ชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อำเภอปายมีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนานคัมภีร์ใบลานหลายเมือง และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีรายงานการสำรวจว่าในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้
• ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก ตำบลเวียงเหนือ อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตกราว 1,500 เมตร พบซากกระดูกและระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์หลงเหลืออยู่ บางส่วนถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้มีอยู่หลายแห่งในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เช่น
o ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
o ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ หม้อดินลายเชือกทาบ ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ
• ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย ตำบลเวียงเหนือ ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้านประมาณ 1 ชั่วโมง พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ
[แก้] ชุมชนโบราณเมืองน้อย
ชุมชนโบราณเมืองน้อยเป็นชุมชนที่พบหลักฐานทางด้านโบราณคดี หลักฐานตำนาน และศิลาจารึกที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองน้อยเป็นเมืองสำคัญในสมัยประวัติศาสตร์ราชวงศ์มังราย ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ ตำแหน่งละติจูดที่ 19 องศา 30 ลิปดา 58 พิลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 98 องศา 30 ลิปดา 50 พิลิปดาตะวันออก ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร จากอำเภอปายไปทางทิศเหนือ เมื่อสองร้อยปีเศษมานี้ เมืองน้อยมีสภาพเป็นเมืองร้าง ปัจจุบันได้มีชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) เข้าไปจับจองอาศัยตั้งบ้านเรือนที่บ้านเมืองน้อย โดยมีชื่อใหม่หลายหมู่บ้าน คือ บ้านหัวฝาย บ้านห้วยงู บ้ายห้วยเฮี้ย บ้านห้วยหก บ้านกิ่วหน่อ และบ้านมะเขือคัน
[แก้] เมืองน้อย: ชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวถึงเรื่องราวเมืองน้อยว่า ในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พระญาติโลกราชะ) ปกครองเชียงใหม่ พ.ศ. 1984-2030 พระองค์มีโอรสชื่อท้าวบุญเรืองหรือศรีบุญเรืองครองเมืองเชียงราย ต่อมาถูกแม่ท้าวหอมุกกล่าวโทษ จึงให้ท้าวบุญเรืองไปครองน้อย ในที่สุดก็ถูกฆ่าตาย[1] เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าติโลกราชแล้ว โอรสของท้าวบุญเรือง ชื่อพญายอดเชียงราย (พระญายอดเชียงราย) ได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ปกครองได้ไม่นานถูกกล่าวหาว่า พระองค์ราชาภิเษกวันจันทร์ ถือว่าเป็นกาลกิณีแก่บ้านเมือง ไม่ประพฤติอยู่ในขนบธรรมเนียมของท้าวพระญา ไม่ประพฤติอยู่ในทศพิธราชธรรม และยังมีใจฝักใฝ่ไมตรีกับฮ่อ เสนาอำมาตย์จึงได้ล้มราชบัลลังก์และได้อัญเชิญให้ไปครองเมืองน้อย ในปี พ.ศ. 2038 พญายอดเชียงรายประทับอยู่เมืองน้อยได้ 10 ปี ก็เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2048 เมื่อพระชนมายุได้ 50 พรรษา พญาเมืองแก้ว (กษัตริย์เมืองเชียงใหม่และราชโอรสของพญายอดเชียงราย) ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระศพของพญายอดเชียงรายที่เมืองน้อย และสร้างอุโบสถครอบ[2]
ครั้นพญาเมืองแก้วเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2068 เสนาอำมาตย์ได้อัญเชิญพระอนุชาจากเมืองน้อยให้มาครองราชย์เชียงใหม่และราชาภิเษกเป็นพระเมืองเกษเกล้า (พระญาเมืองเกส) ในปี พ.ศ. 2069 พระองค์ครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2081 (พระเมืองเกษเกล้าครองราชย์เมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2068-2081 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2086-2088) เสนาอำมาตย์ไม่ชอบใจได้ปลดพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ และอัญเชิญท้าวซายคำราชโอรสให้ครองราชย์แทนในปี พ.ศ. 2081 ท้าวซายคำประพฤติตนไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม เสนาอำมาตย์ได้ลอบปลงพระชนม์ในปี พ.ศ. 2086 และได้อัญเชิญพระเมืองเกษเกล้าจากเมืองน้อยมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 2[3]
บ้านเมืองน้อยมีโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดเจดีย์หลวง" ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ มีแนวกำแพงกำหนดเขตพุทธาวาสขนาด 80 x 100 x 1 เมตร ขนาดชุกชีวิหาร ฐานชุกชีอุโบสถขนาด 4 x 8.50 เมตร (สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพญายอดเชียงราย) ซุ้มประตูโขงด้านทิศตะวันออก เจดีย์ขนาด 11 x 11 x 17 เป็นเจดีย์แบบเชิงช้อนย่อเหลี่ยม บางส่วนยังมีลวดลายการก่ออิฐทำมุม เจดีย์ถูกสร้างขึ้นจากอิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 เจดีย์ถูกขุดค้นหาสมบัติลักษณะแบบผ่าอกไก่จากยอดถึงฐานต่ำสุด มีหลุมลึกประมาณ 1 เมตร ทำให้มองเห็นฐานรากของการก่อสร้างเจดีย์ที่ใช้ก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่วางซ้อนกันเป็นฐานราก ก้อนอิฐที่ใช้ก่อสร้างมีขนาด 6 x 11 นิ้ว และในบริเวณวัดเจดีย์หลวงยังพบจารึกบนแผ่นอิฐ 2 ชิ้น
จารึกหลักแรกพบในบริเวณด้านเหนือของโบราณสถาน จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยวน จำนวน 3 บรรทัด บรรทัดที่ 2-3 จารึกกลับหัว จากบรรทัดที่ 1 ความว่า "(1) เชแผง (2) เนอ เหย เหย (3) ฅนบ่หลายแล แล แล" ความในจารึกชิ้นนี้กล่าวถึงนายเชแผง ผู้เป็นหนึ่งในผู้ปั้นอิฐในการก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้ รำลึกถึงคนจำนวนไม่มากนักในการสร้างศาสนสถานแห่งนี้หรือในเมืองนี้
จารึกหลักที่สองพบก่อร่วมกับอิฐก้อนอื่น ๆ ในบริเวณแนวกำแพงด้านใต้ของโบราณสถาน จารึกด้วยอักษรฝักขาม ภาษาไทยวน จำนวน 1 บรรทัด ส่วนครึ่งแรกหายไป ส่วนครึ่งหลังอ่านได้ใจความว่า "สิบกา (บ)" จารึกชิ้นนี้บอกผู้ปั้นว่าสิบกาบ คำว่า "สิบ" อาจหมายถึงตำแหน่งขุนนางล้านนาสมัยโบราณ เรียกว่า "นายสิบ" หรือเนื่องจากอิฐส่วนหน้าที่หักหายไปบริเวณกี่งกลางของก้อนอิฐนั้น คำว่า "สิบกา(บ)" อาจสันนิษฐานได้ว่า ข้อความเต็มด้านหน้าที่หายไปเป็น "(ห้า) สิบกาบ" หรือขุนนางระดับนายห้าสิบก็อาจเป็นได้[4]
วิวรรณ์ แสงจันทร์ กล่าวว่า จากหลักฐานโบราณคดี ซากวัดร้างต่าง ๆ จำนวน 30 แห่งในเมืองน้อย รวมทั้งวัดเจดีย์หลวงและข้อความที่พบสะท้อนให้เห็นว่า ชุมชนที่นี่เป็นเมืองใหญ่ในอดีตมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอที่จะสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่จำนวนมากได้
[แก้] ชุมชนโบราณบ้านเวียงเหนือ
นอกจากเมืองน้อยแล้ว เมืองปายยังพบชุมชนโบราณที่บ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ ตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูด 19 องศา 22 ลิปดา 34 พิลิปดาเหนือ ลองจิจูด 98 องศา 27 ลิปดา 17 พิลิปดาตะวันออก
เมืองปายมีหลักฐานตำนานกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ในสมัยพญาแสนภู (พระญาแสนพู) กษัตริย์เชียงใหม่ (พ.ศ. 1868-1877) สร้างเมืองเชียงแสน พ.ศ. 1871 ได้กำหนดให้เมืองปายเป็นเมืองขึ้นของพันนาทับป้องของเมืองเชียงแสนในสมัยนั้น (พงศาวดารโยนก หน้าตำนานเชียงแสนว่า เมืองจวาดน้อย/จวาดน้อย/สันนิษฐานว่าเป็นคำเดียวกับคำว่าชวาดน้อย)
วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2028 ปีมะเส็ง สัปตศก (วันศุกร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ จุลศักราช 847 ปีดับใส้) เจ้าเถรสีลสังยมะให้หล่อพระพุทธรูปเวลารับประทานอาหารเช้า (ยามงาย)[5]
พ.ศ. 2032 มหาเทวี (พระมารดาพญายอดเชียงราย) พระราชทานที่ถวายพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ ก่อสร้างมหาเจดีย์ มหาวิหาร ผูกพัทธสีมาอุโบสถวัดศรีเกิด (ปัจจุบันชาวบ้านเรียกวัดหนองบัว (ร้าง) บ้านแม่ฮี้ ตำบลแม่ฮี้) พ.ศ. 2033 มีการถวายข้าทาสอุปัฏฐากพระมหาสามีสัทธัมมราชรัตนะ อุโบสถ มหาวิหาร มหาเจดีย์ พระพุทธรูป ห้ามไม่ให้ผู้ใดนำข้าทาสเหล่านี้ไปทำงานอื่นหากยังเคารพนับถือพญายอดเชียงรายอยู่ หากฝ่าฝืนขอให้ตกนรกอเวจี[6]
พ.ศ. 2044 ปีระกา ตรีศก เจ้าหมื่นพายสรีธัม(ม์)จินดา หล่อพระพุทธรูปหนักสี่หมื่นห้าพันทอง เดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล (เมืองพาย/อำเภอปาย) (ปัจจุบันพระพุทธรูปนี้เก็บรักษาไว้ ณ วัดหมอแปง ตำบลแม่นาเติง ดร.ฮันส์ เพนธ์ คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ่านฐานพระพุทธรูปวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ความว่า "ในปีร้วงเร้า สักราชได้ ๘๖๓ ตัว เจ้าหมื่นพายสรีธัมจินดา ส้างรูปพระพุทธะเป็นเจ้าตนนี้ สี่หมื่นห้าพันทอง ในเดือนเจ็ด ไว้ในอุโบสถวัดดอนมูน เมืองพายแล" (ดร.ฮันส์ เพนธ์กล่าวว่า "หมื่น" เป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพาย ตำแหน่งใหญ่เทียบเท่าเมืองเชียงแสน เมืองลำปาง และ 1 ทอง เท่ากับ 1.1 กรัม)
พ.ศ. 2124 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า พญาลำพูนมาครองเมืองปาย (พลาย)[7]
พ.ศ. 2283 ปรากฏชื่อวัดป่าบุก ตั้งอยู่ทิศใต้ของเมืองปาย (พลาย) ช้างตัวผู้ ดังความว่า "วัดป่าบุก ใต้เมืองพายช้างพู้" (คัมภีร์ ธัมมปาทะ (ธรรมบท) ปัจจุบันเก็บไว้ที่วัดดวงดี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2330 เมืองปายรวมตัวกับเมืองพะเยา เมืองเชียงราย เมืองฝาง เมืองปุ และเมืองสาดขับไล่พม่า แต่เมืองพะเยาทำการไม่สำเร็จ[8]
พ.ศ. 2412 ขณะที่พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2399-2413) ลงไปถวายบังคมกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานครว่า ฟ้าโกหล่านเมืองหมอกใหม่ ยกกองทัพมาตีเมืองปายซึ่งสมัยนั้นมีฐานะเมืองขึ้นของเชียงใหม่ เจ้าราชภาคีไนย นายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์รักษาการเมืองเชียงใหม่ ทำหนังสือถึงเจ้าเมืองลำปางและเมืองลำพูนให้มาช่วยเมืองปาย หลังจากนั้นเจ้านายและกองทัพจากสามเมือง ยกกำลังมาช่วยเมืองเชียงใหม่รบกับกองทัพของฟ้าโกหล่าน โดยมีนายบุญทวงศ์ นายน้อยมหาอินท์คุมกำลัง 1,000 คนจากเมืองลำปาง มีนายน้อยพิมพิสาร นายหนายไชยวงศ์คุมกำลัง 1,000 คนจากเมืองลำพูน มีนายอินทวิไชย นายน้อยมหายศคุมกำลัง 500 คน แต่ไม่สามารถป้องกันเมืองปายได้ กองทัพฟ้าโกหล่านจุดไฟเผาบ้านเรือนในเมืองปาย กวาดต้อนผู้คนและครอบครัวไปอยู่เมืองหมอกใหม่ กองทัพทั้งสามเมืองจึงได้ติดตามไปถึงฝั่งแม่น้ำสาละวิน แต่ตามไม่ทันจึงได้เดินทางกลับ
พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ตั้งแต่เมืองปายถูกฟ้าโกหล่านตีแตก จุดไฟเผาบ้านเมือง กวาดต้อนผู้คนไปเมืองหมอกใหม่แล้ว เมืองปายมีสภาพเป็นร้างบางส่วน ไม่มีผู้รักษาเมือง ทั้งยังถูกกองทัพเงี้ยวและลื้อกวาดต้อนครอบครัวไปอยู่เป็นประจำ จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระยาชัยสงคราม (หนานธนันไชย บุตรราชวงศ์มหายศ) เป็นพระยาเกษตรรัตนอาณาจักรไปปกครองเมืองปาย ให้ยกเอาคนจากเมืองเชียงใหม่ไปตั้งเมืองปาย ให้เป็นภูมิลำเนาบ้านเรือนเหมือนเดิม เพื่อจะได้ป้องกันรักษาด่านเมืองเชียงใหม่[9]
พ.ศ. 2438 พระยาดำรงราชสิมา ผู้ว่าราชการเมืองปาย ถูกพวกแสนธานินทร์พิทักษ เจ้าเมืองแหงปล้น แล้วแสนธานินทร์พิทักษประกาศเกลี้ยกล่อมคนเมืองปั่น เมืองนาย เมืองเชียงตอง และเมืองพุมารบเมืองปาย โดยจะเก็บริบเอาทรัพย์สิ่งของให้หมด พระยาทรงสุรเดชพร้อมด้วยเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ประชุมเจ้านายหกตำแหน่งมอบหมายให้เจ้าอุตรโกศลออกไปปราบปราม[10]
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ส่างนันติ คนในบังคับอังกฤษ ใช้ดาบฟันส่างสุนันตาและเนอ่อง คนในบังคับสยามตาย ณ ตำบลกิ่วคอหมา แขวงเมืองปาย และนำทรัพย์สินไปมูลค่าประมาณ 1,000 บาท ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ได้ตัดสินประหารชีวิต (คำพิพากษาที่ 25/125 ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ วันที่ 24 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 อ้างในศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2535/คำพิพากษานี้เป็นคำพิพากษาในสมัยที่สยาม (ไทย) ตกอยู่ภายใต้เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตตามสนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398) และจำเลยได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์กรุงเทพ ได้ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และให้ประหารชีวิตตามคำพิพากษาศาลล่าง (คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 20 ปี ค.ศ. 1906 อ้างในศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2536)
พ.ศ. 2454 กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกการปกครองเมือง เปลี่ยนฐานะเมืองปายเป็น อำเภอปาย และได้แต่งตั้งหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมมินทร์) เป็นนายอำเภอคนแรกระหว่างปี พ.ศ. 2454-2468[11]
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
• น้ำตกหมอแปง
• วัดกลาง
• วัดพระธาตุศรีวิชัย
• วัดน้ำฮู
• หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ปิง
• เจดีย์พระธาตุแม่เย็น
• โป่งน้ำร้อนท่าปาย
• น้ำตกแม่เย็น
• กองแลน
• น้ำพุร้อนเมืองแปง
• ห้วยจอกหลวง
• ถนนคนเดิน ปาย
• สะพานข้ามแม่น้ำปาย